แนวคิดและลักษณะและวิธีการของโครงการแก้มลิง


             แนวพระราชดำริแก้มลิง เกิดขึ้นในช่วงที่กรุงเทพมหานครเผชิญปัญหาน้ำท่วมหนัก เมื่อปี
พ.ศ.๒๕๓๘ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๙  ที่ท่านได้ทรงนำลักษณะการเก็บอาหารของลิงที่เก็บอาหารไว้ที่กระพุ้งแก้ม มาเป็นแนวบรรเทาน้ำท่วม โดยจัดสถานที่เก็บกักน้ำตามจุดต่างๆ เป็นบ่อพักน้ำหลังจากที่รับน้ำจากแม่น้ำ เพื่อป้องกันปัญหาน้ำท่วม เนื่องจากแม่น้ำกักเก็บน้ำไม่เพียงพอ  ทำให้น้ำเอ่อล้นออกมาจนเกิดอุทกภัย และบ่อพักน้ำในจุดต่างๆก็คือ คลองและคูน้ำ เพื่อรองรับน้ำฝน เมื่อถึงเวลาที่จะต้องระบายน้ำออกไปก็จะค่อยๆระบายส่วนที่กักเก็บน้ำไว้ออกไปอย่างเป็นระบบ


                                              ขอบคุณรูปภาจาก https://www.svgroup.co.th

                 ลักษณะและวิธีการของโครงการแก้มลิง ลักษณะของโครงการแก้มลิงจะดำเนินการระบายน้ำออกจากพื้นที่ตอนบน เพื่อให้น้ำไหลลงคลองพักน้ำที่ชายทะเล  จากนั้นเมื่อระดับน้ำทะเลลดลงจนต่ำกว่าน้ำในคลอง  น้ำในคลองจะไหลลงสู่ทะเลตามธรรมชาติ  ต่อจากนั้นจะเริ่มสูบน้ำออกจากคลองที่ทำหน้าที่แก้มลิง เพื่อทำให้น้ำตอนบนค่อยๆไหลมาเอง  จึงทำให้เกิดอุทกภัยในพื้นที่น้อยลง จนในที่สุดเมื่อระดับน้ำทะเลสูงกว่ระดับน้ำในคลอง  จึงปิดประตูระบายน้ำ โดยให้น้ำไหลทางเดียว(One Way Flow)


  ขอบคุณรูปภาพจากhttp://km.rdpb.go.th


ขอบคุณข้อมูลจาก:หนังสือโครงการพระราชดำริ แก้มลิง ชุดศาสตร์พระราชา

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ประโยชน์ของโครงการแก้มลิง

ขอบเขตและเป้าหมายของโครงการแก้มลิง

ประโยชน์ของศาสตร์พระราชาเรื่อง โครงการแก้มลิง