แก้มลิงหนองใหญ่และระบบการทำงานของแก้มลิงหนองใหญ่


         
             พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จมาทอด พระเนตรและประกอบพิธีเปิดโครงการพัฒนาที่ดินหนองใหญ่ เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2541 ทรงมีพระราชดำริเพิ่มเติม เพื่อแก้ไขปัญหาอุทกภัย ให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น ประกอบด้วย การขุดลอก"แก้มลิงหนองใหญ่"เพื่อกักเก็บน้ำ การขุดคลองละมุให้เชื่อมกับคลองท่าแซะ การติดตั้งประตูระบายน้ำราชประชานุเคราะห์ การติดตั้งระบบ เตือนภัยที่คลองท่าแซะ นับเป็นพระอัจฉริยภาพด้านวิศวกรรมชลประทาน ประชาชนในเขตเทศบาลเมืองชุมพรและพื้นที่โดยรอบ รอดพ้น จากอุทกภัยน้ำท่วมต่อเนื่องมา 12 ปี ชาวชุมพรต่างสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ดังคำกล่าวที่ว่า
“ด้วยพระเมตตาบารมี ชุมพรวันนี้สุขร่มเย็น”
              ระบบการทำงานของ"แก้มลิงหนองใหญ่" จะรับน้ำจากคลองสาขา ได้แก่ คลองกรูด คลองขี้นาค และคลองละมุ(รวมน้ำที่ผันจากคลองท่าแซะ)มากักเก็บไว้ แล้วค่อยๆปล่อยผ่านประตูระบายน้ำราชประชานุเคราะห์ทั้ง๓แห่ง และท่อระบายน้ำหนองใหญ่ออกสู่คลองหัววัง-พนังตัก เพื่อระบายออกสู่ทะเล

ขอบคุณรูปภาพจาก http://www.dhammathai.org

           อีกกรณีคือ เมื่อปริมาณน้ำที่ไหลหลากลงมาจากคลองรับร่อและคลองท่าแซะ ผ่านคลองตะเภาเข้าสู่คลองหัววัง-พนังตักเกินความสามารถที่จะรับไว้ได้ จะไหลเข้าไปอยู่พื้นที่หนองใหญ่ เมื่อมวลน้ำไหลผ่านคลองหัววังลดลงระดับหนึ่งแล้ว ค่อยระบายน้ำที่อมไว้ในแก้มลิง ผ่านประตูระบายน้ำประชานุ    เคราะห์และท่อระบายน้ำหนองใหญ่ออกสู่คลองหัววัง-พนังตักและลงสู่ทะเล เพื่อเตรียมพร้อมรับน้ำก้อนใหม่ต่อไป โดยสถานีตรวจวัดปริมาณน้ำฝนและปริมาญน้ำในคลองต่างๆรายงานข้อมูลการปิด-เปิดประตูระบายน้ำราชประชานุเคราะห์ ช่วยควบคุมการทำงานของหนองใหญ่อย่างเป็นระบบ-ระเบียบ

ขอบคุณรูปภาพจาก https://sites.google.com


ขอบคุณข้อมูลจาก: หนังสือโครงการพระราชดำริ แก้มลิง ชุดศาสตร์พระราชา




ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ประโยชน์ของโครงการแก้มลิง

ขอบเขตและเป้าหมายของโครงการแก้มลิง

ประโยชน์ของศาสตร์พระราชาเรื่อง โครงการแก้มลิง