บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก ธันวาคม, 2017

ผู้จัดทำ

รูปภาพ
สมาชิก ด.ญ.สุประวีณ์   เลิศด้วยลาภ เลขที่ 24 ชั้น 2/12 ด.ญ.อรุณภัสสร์   พรหมณี  เลขที่26 ชั้น2/12

ประโยชน์ของศาสตร์พระราชาเรื่อง โครงการแก้มลิง

กลุ่มของข้าพเจ้าได้ศึกษาศาสตร์พระราชาเรื่อง โครงการแก้มลิง ได้รับประโยชน์ดังนี้                1.ได้เรียนรู้ประเภทและวิธีการของโครงการแก้มลิง                2.ได้แนวทางมาปรับใช้ได้ในชีวิตประจำวัน                3.ได้เรียนรู้เกี่ยวกับพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 9) ความรู้สึกของสมาชิกหลังจากได้ศึกษา ศาสตร์พระราชา โครงการแก้มลิงมีดังนี้         สมาชิกคนที่1 เด็กหญิงสุประวีณ์  เลิศด้วยลาภ มีความเห็นว่า:พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระปรีชาสามารถก่อตั้งซึ่งโครงการแก้มลิงเป็นโครงการที่ใช้หลักการง่ายๆนำมาประยุกต์กับธรรมชาติแต่ได้ประโยชน์ในด้านต่างๆกับประชาชนชาวไทยอย่างมหาศาลไม่ว่าจะเป็นการบรรเทาปัญหาน้ำท่วมขัง การลดปัญหาความตึงเครียดของราษฎรในบริเวณพื้นที่น้ำท่วม หรือการลดความสูญเสียทางเศรษฐกิจในพื้นที่ที่ถูกน้ำท่วม เป็นต้น      สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ ดังนี้ :กักเก็บน้ำฝนไว้ใช้ในยามจำเป...

ความเป็นมา

รูปภาพ
                      โครงการแก้มลิง เป็นแนวคิดในพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่๙  เพื่อแก้ปัญหาอุทกภัย โดยพระองค์ทรงตระหนักถึงความรุนแรงของอุทกภัยที่เกิดขึ้นในกรุงเทพมหานคร เมื่อปี พ.ศ.2538 จึงมีพระราชดำริ " โ ค รงกา รแ ก้ มลิง" ขึ้ น  และมีพระราชกระแสอธิบายว่า                       "ลิงโดยทั่วไปถ้าเราส่งกล้วยให้ ลิงจะรีบปลอกเปลือก เอาเข้าปากเคี้ยว                        แล้วนำไปเก็บไว้ที่แก้มก่อน ลิงจะทำอย่างนี้จนกล้วยหมดหวีหรือเต็มกระพุ้งแก้ม                        จากนั้นจะค่อยๆ นำออกมาเคี้ยวและกลืนภายหลัง"            ด้วยแนวพระราชดำรินี้ จึงเกิดเป็น "โครงการแก้มลิง " ขึ้นเมื่อวันที่ ๑๔ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๓๘ ขอบคุณรูปภาพจาก https://www.svgroup.co.th           ...

ขอบเขตและเป้าหมายของโครงการแก้มลิง

รูปภาพ
ขอบเขตโครงการ      ขอบเขตของพื้นที่โครงการแก้มลิง สรุปได้ดังนี้ ทิศเหนือ ติดเขต อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ โดยอาศัยคลองมหาสวัสดิ์เป็น แนวรับน้ำ  ทิศตะวันออก ติดต่อแม่น้ำเจ้าพระยา ตั้งแต่ใต้สะพานพระราม 7 ลงไปจดเขตราษฎร์บูรณะ เขตพระประแดงกิ่ง อ.พระสมุทรเจดีย์ จ.สมุทรปราการ โดยมีคลองขุนราชพินิจใจเป็นแนวแบ่งเขต ทิศใต้ จดชายทะเลในเขตบางขุนเทียน กรุงเทพฯ และเขต อ.เมือง จ.สมุทรสาคร เป้าหมายของโครงการแก้มลิง   1. เร่งระบายน้ำลงสู่พื้นที่แก้มลิงโดยเร็วที่สุด โดยแบ่งปริมาณน้ำให้ระบายไปตามคลองระบายน้ำ และ    แหล่งเก็บชะลอน้ำตามประสิทธิภาพที่มีอยู่เดิม และสมดุลกับปริมาณน้ำหลาก   2. ปรับปรุงคลองระบายน้ำให้สามารถระบายน้ำได้ตามที่ได้ศึกษากำหนดแนวทางไว้   3. ก่อสร้างอาคารบังคับน้ำต่าง ๆ ตามที่กำหนดและวางแผนไว้   4. ดำเนินการโครงการ โดยประสานงานกับหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อสามารถดำเนินการก่อสร้าง      ระบบระบายน้ำได้อย่างถูกต้อง และสอดคล้องไปในแนวทางเดียวกัน                ...

แนวคิดและลักษณะและวิธีการของโครงการแก้มลิง

รูปภาพ
             แนวพระราชดำริแก้มลิง เกิดขึ้นในช่วงที่กรุงเทพมหานครเผชิญปัญหาน้ำท่วมหนัก เมื่อปี พ.ศ.๒๕๓๘ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๙  ที่ท่านได้ทรงนำลักษณะการเก็บอาหารของลิง ที่เก็บอาหารไว้ที่กระพุ้งแก้ม มาเป็นแนวบรรเทาน้ำท่วม โดยจัดสถานที่เก็บกักน้ำตามจุดต่างๆ เป็นบ่อพักน้ำหลังจากที่รับน้ำจากแม่น้ำ เพื่อป้องกันปัญหาน้ำท่วม เนื่องจากแม่น้ำ กักเก็บน้ำไม่เพียงพอ  ทำให้น้ำ เอ่อล้นออกมาจนเกิดอุทกภัย และบ่อพักน้ำในจุดต่างๆก็คือ คลองและคูน้ำ เพื่อรองรับน้ำฝน เมื่อถึงเวลา ที่จะต้องระบายน้ำออกไปก็จะค่อยๆระบายส่วนที่กักเก็บน้ำไว้ออกไปอย่างเป็นระบบ                                               ขอบคุณรูปภาจาก  https://www.svgroup.co.th                  ลักษณะและวิธีการของโครงการแก้มลิง ลักษณะของโครงการแก้มลิงจะดำเนินการระบายน้ำออกจากพื้นที่ตอนบน เพื่อให้น้ำไหลลงคลองพักน้ำท...

ประเภทของโครงการแก้มลิง

รูปภาพ
โครงการแก้มลิงมี 3 ขนาด คือ             1.แก้มลิงขนาดใหญ่ (Retarding Basin) คือ สระน้ำหรือบึงขนาดใหญ่ที่รวบรวมน้ำฝนจากพื้นที่ บริเวณนั้นๆ โดยจะกักเก็บไว้เป็นระยะเวลาหนึ่งก่อนที่จะระบายลงสู่ลำน้ำ พื้นที่กักเก็บน้ำเหล่านี้ได้แก่ เขื่อน อ่างเก็บน้ำ ฝาย ทุ่งเกษตรกรรม เป็นต้น ลักษณะสิ่งก่อสร้างเหล่านี้จะมีวัตถุประสงค์อื่นประกอบด้วยเช่น เพื่อการชลประทาน เพื่อการประมง เป็นต้น                                                          ขอบคุณรูปภาพจาก www. google.co.th/seach.                               2.แก้มลิงขนาดกลาง เป็นพื้นที่ชะลอน้ำที่มีขนาดเล็กกว่า ก่อสร้างในระดับลุ่มน้ำ มักเป็นพื้นที่ธรรมชาติเช่น หนอง คลอง บึง เป็นต้น                               ...

การจัดหาและออกแบบโครงการแก้มลิง

รูปภาพ
          การพิจารณาจัดหาพื้นที่กักเก็บน้ำนั้น ต้องทราบปริมาณน้ำผิวดินและอัตราการไหลผิวดินที่มากที่สุด ที่จะยอมปล่อยให้ออกได้ในช่วงเวลาฝนตก โดยสิ่งสำคัญคือ ต้องจัดหาพื้นที่กักเก็บให้พอเพียง เพื่อจะได้ไม่เป็นปัญหาในการระบายน้ำ ปัจจุบันกรุงเทพมหานครมีทั้งแก้มลิงขนาดใหญ่และขนาดเล็กกระจายอยู่ทั่วกรุงเทพมหานครกว่า 20 จุด ซึ่งส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ทางฝั่งธนบุรี เนื่องจากมีคลองจำนวนมากและระบายน้ำออกทางแม่น้ำเจ้าพระยา            ทั้งนี้โครงการแก้มลิงแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ โครงการระบายน้ำในพื้นที่ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา โดยจะใช้คลองที่ตั้งอยู่ชายทะเลด้านจังหวัดสมุทรปราการ ทำหน้าที่เป็นทางเดินของน้ำ ตั้งแต่จังหวัดสระบุรี พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี นนทบุรี และกรุงเทพมหานคร            ส่วนที่2 คือ คลองในพื้นที่ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งจะใช้คลองมหาชัย  คลองสนามชัย และ แม่น้ำท่าจีน ทำหน้าที่เป็นคลองรับน้ำในพื้นที่ตั้งแต่จังหวัดอ่างทอง อยุธยา ปทุมธานี นครปฐม และกรุงเทพมหานคร แล้วระบายลงสู่ทะเลด้านจังห...

แก้มลิงหนองใหญ่และระบบการทำงานของแก้มลิงหนองใหญ่

รูปภาพ
                        พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จมาทอด พระเนตรและประกอบพิธีเปิดโครงการพัฒนาที่ดินหนองใหญ่ เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2541 ทรงมีพระราชดำริเพิ่มเติม เพื่อแก้ไขปัญหาอุทกภัย ให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น ประกอบด้วย การขุดลอก" แก้มลิงหนองใหญ่" เพื่อกักเก็บน้ำ การขุดคลองละมุให้เชื่อมกับคลองท่าแซะ การติดตั้งประตูระบายน้ำราชประชานุเคราะห์ การติดตั้งระบบ เตือนภัยที่คลองท่าแซะ นับเป็นพระอัจฉริยภาพด้านวิศวกรรมชลประทาน ประชาชนในเขตเทศบาลเมืองชุมพรและพื้นที่โดยรอบ รอดพ้น จากอุทกภัยน้ำท่วมต่อเนื่องมา 12 ปี ชาวชุมพรต่างสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ดังคำกล่าวที่ว่า “ด้วยพระเมตตาบารมี ชุมพรวันนี้สุขร่มเย็น”               ระบบการทำงานของ "แก้มลิงหนองใหญ่"  จะรับน้ำจากคลองสาขา ได้แก่ คลองกรูด คลองขี้นาค และคลองละมุ(รวมน้ำที่ผันจากคลองท่าแซะ)มากักเก็บไว้ แล้วค่อยๆปล่อยผ่านประตูระบายน้ำราชประชานุเคราะห์ทั้ง๓แห่ง และท่อระบายน้ำหนองใหญ่ออกสู่คลองหัววัง-พนังตัก เพื่อระบายออกสู่ทะเล ขอบคุณรูปภาพจาก ...

องค์ประกอบ "แก้มลิงหนองใหญ๋"

รูปภาพ
          โครงการแก้มลิงหนองใหญ่ มีองค์ประกอบทั้งหมด ๖ อย่างด้วยกัน ได้แก่ คลองสาขารับน้ำเข้าสู่แก้มลิง แก้มลิงหนองใหญ่ คลองระบายน้ำออกจากพื้นที่แก้มลิง ช่องระบายน้ำฉุกเฉิน ประตูระบายน้ำ และท่อระบายน้ำ โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้                                    ๑. คลองสาขารับน้ำเข้าสู่พื้นที่แก้มลิง                   คลองสาขาที่ไหลมาจากทางทิศเหนือ มีทั้งสิ้น ๓ คลองด้วยกัน ได้แก่ คลองละมุ ซึ่งเป็นคลองที่รับน้ำไหลป่าและน้ำผันจากคลองท่าแซะ(ระบายน้ำได้๑oo ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที) คลองขี้- นาค(ระบายน้ำได้๓o ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที)และคลองกรูด(สามารถระบายน้ำได้๓oลูกบาก์เมตรต่อวินาที)             ๒. แก้มลิงหนองใหญ่                   สามารถรองรับน้ำได้สูงสุดประมาณ ๓ ล้านลูกบาศก์เมตร หรือระดับ +๔,๗๘o เมตร เหนือระดับน้ำทะเลปานกลาง        ...

หลักการ 3 ประเด็นที่โครงการแก้มลิงจะสามารถบรรลุผลสำเร็จตามแนวพระราชดำริ

รูปภาพ
หลักการ 3 ประเด็นที่่โครงการแก้มลิงจะมีประสิทธิภาพบรรลุผลสำเร็จตามแนวพระราดำริ คือ       1. การพิจารณาสถานที่ที่จะทำหน้าที่เป็นบ่อพักและวิธีชักน้ำท่วมเข้าสู่บ่อพักน้ำ       2.เส้นทางน้ำที่ไหลสะดวกต่อการระบายน้ำเข้าสู่บ่อที่ทำหน้าที่บ่อพักน้ำ       3.การระบายน้ำออกจากบ่อพักน้ำอย่างต่อเนื่อง     จากหลักการข้างต้น การสนองพระราชดำริจึงดำเนินการพิจารณาจากการใช้ลำคลองหนองบึงธรรมชาติหรือพื้นที่ว่างเปล่านำมาใช้เป็นบ่อพักน้ำที่จะนำน้ำเข้าบ่อพักน้ำและระบายน้ำออกจากบ่อพักน้ำตามความเหมาะสมของแต่ละพื้นที่                                                                                                 ขอบคุณรูปภาพจาก google.co.th                     ...

ประโยชน์ของโครงการแก้มลิง

รูปภาพ
ประโยชน์ของโครงการแก้มลิง   1. ช่วยระบายน้ำท่วมขังในที่ลุ่มทิ้งลงทะเล   2. ช่วยลดระยะเวลาน้ำท่วมขังให้สิ้นลง   3. ลดปัญหาความตึงเครียดทางด้านจิตใจของราษฎรในพื้นที่น้ำท่วม   4. ลดความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจในพื้นที่ที่ถูกน้ำท่วม   5. ลดค่าใช้จ่ายในการบูรณะซ่อมแซมสาธารณูปโภคต่าง ๆ   6. การชัดน้ำจืดจากแม่น้ำท่าจีนเพื่อนำมาช่วยไล่น้ำเสีย   7. ช่วยให้มีการชัดน้ำจืดจากแม่น้ำท่าจีนเพื่อนำมาช่วยไล่น้ำเสีย                                                          ขอบคุณรูปภาพจาก twitter hippo design                                                                                           ...